ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 97
น.ส.รัตติกรณ์ สนั่นเอื้อ (โทร.6566)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
กรุงเทพมหานครได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ ๑.๑ วิสัยทัศน์ “กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองอาหารปลอดภัย อาหารปลอดโรค ปลอดสารพิษ บริโภคได้อย่างมั่นใจ” ๑.๒ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นแนวทางดำเนินการ มี ๓ ประการ ๑.๒.๑ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเน้นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Sciencebased) และการวางระบบการตรวจสอบและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของอาหาร ๑.๒.๒ การสร้างหลักประกันเพื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ๑.๒.๓ การเปิดระบบให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ๑.๓ เป้าหมายหลัก ผลลัพธ์สุดท้ายที่กรุงเทพมหานครต้องการให้บรรลุผลตามแผนยุทธศาสตร์กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัยมี ๔ ประการ คือ ๑.๓.๑ ประชาชนมีสุขภาพดี บริโภคอาหารปลอดภัย โดยมีมาตรการป้องกันเฝ้าระวังด้วยวิธีตรวจหาอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษ ๑.๓.๒ พัฒนาคุณภาพระบบงานสุขาภิบาลอาหารให้ได้มาตรฐานสากล ๑.๓.๓ พัฒนากฎหมาย ข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครให้เหมาะสม และสร้างระบบบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ๑.๓.๔ พัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายในเรื่องอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานครสูงสุด สำนักงานเขตพระนครจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ขึ้น
50010400/50010400
๑ เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการ ๒ เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร ๓ เพื่อตรวจสอบคุณภาพอาหารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและร้องเรียนด้านอาหาร ๔ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และวิสัยทัศน์ด้านอาหารปลอดภัยให้กว้างไกลและเหมาะสมกับสถานการณ์ และพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้เพื่อคุณภาพงานด้านอาหาร ๕ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย ๖ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
๑ ลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ จากฐานข้อมูลปี ๒๕๖๑ ๒ ลดอัตราการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ จากฐานข้อมูลปี ๒๕๖๑ ๓ เก็บตัวอย่างอาหารจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์คุณภาพอาหารภาคสนามให้ครบร้อยละ ๑๐๐ ๔ เก็บตัวอย่างอาหารจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๐๐ ตัวอย่าง (โดยการสุ่มตัวอย่างตามวิธีทางสถิติ) เพื่อส่งห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา เป้าหมายผลการตรวจวิเคราะห์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ๕ ตรวจสอบด้านสุขลักษณะทางกายภาพของกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐ ตามหลักการสุขาภิบาลที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๕ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 97.00 (2020-09-09)
09/09/2563 : สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 88.00 (2020-08-28)
28/08/2563 : ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 86.00 (2020-07-24)
24/07/2563 : ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ดำเนินกิจกรรมเครือข่ายการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต เอกชนที่เกี่ยวข้อง (จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการและจัดประชุม) ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และ.ติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 74.00 (2020-06-29)
29/06/2563 : ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 67.00 (2020-05-25)
25/05/2563 : ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร) ดำเนินกิจกรรมเครือข่ายการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต เอกชนที่เกี่ยวข้อง (จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการและจัดประชุม) ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2020-04-28)
28/04/2563 : อยู่ในระหว่างขั้นตอน...ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร) ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 48.00 (2020-03-25)
25/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร) ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 41.00 (2020-02-26)
26/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...1.ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร) 2.ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย (จัดซื้อวัสดุเคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการล้างตลาดและจัดประชุม) 3.ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย 4.ติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 31.00 (2020-01-29)
29/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร) ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย (จัดซื้อวัสดุเคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการล้างตลาดและจัดประชุม) ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 22.00 (2019-12-24)
24/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำแผนปฏิบัติงาน ดำเนินกิจกรรมย่านอาหารปลอดภัย (จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และจัดประชุม) ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย และติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-11-27)
27/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำแผนปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-29)
29/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...การลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ในพื้นที่แขวงวัดสามพระยา เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผู้ประกอบการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 4. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 97.43
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **